หน้าแรก

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ถาม – ตอบ ความรู้เกี่ยวกับศุลกากร



  1. กรมศุลกากรใช้พิกัดอัตราศุลกากรตามระบบใดในการจัดสินค้าออกเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย
ตอบ    ระบบฮาร์โมไนซ์
กรมศุลกากรใช้พิกัดอัตราศุลกากรตามระบบฮาร์โมไนซ์ในการจัดสินค้า ออกเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย ระบบนี้แบ่งสินค้าออกเป็น 21 หมวด 91 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน
การระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ จะกำหนดเป็นเลข 10 หลัก โดยที่ 7 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ส่วนเลข 3 หลักหลังเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ดังนั้นจึงมีคำสากลที่ใช้กำหนดสินค้าคือพิกัดรหัสสถิติ (Commodity code)
  1. พิกัดรหัสสถิติ (Commodity Code) หมายถึง
ตอบ   เลข 10 ตัว ที่ระบุสินค้าแต่ละรายการ ใช้ในความหมายเดียวกับรหัสสินค้า “พิกัดรหัสสถิติ” เป็นคำที่มีใช้ในระบบสากลและสื่อความหมายของ “พิกัด” ซึ่งประกอบด้วยตอน ประเภท ประเภทย่อย และรหัสสถิติด้วย
  1. คำว่า “ราคาศุลกากร” หรือ “ราคา” แห่งของอย่างใดนั้น ในกรณีของนำเข้า หมายถึง
ตอบ   ราคาของสินค้านำเข้าเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร
  1. ปัจจุบันประเทศไทยใช้ราคาศุลกากรที่เรียกว่า อะไร
ตอบ   “ระบบราคาแกตต์ (GATT Valuation)” ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในการกำหนดราคาสินค้าขาเข้าสำหรับการคำนาณค่าภาษีอากร
  1. การกำหนดราคาศุลกากรตามหลักการของแกตต์มีกี่วิธี
ตอบ    6 วิธี   ได้แก่
วิธีที่ 1 ราคาซื้อขายของที่นำเข้า หมายถึงราคาซื้อขายที่ผู้ซื้อสินค้าได้ชำระจริงหรือที่จะต้องชำระให้กับผู้ ขายในต่างประเทศสำหรับของที่นำ เข้า ซึ่งได้มีการปรับราคาหรือได้นำมูลค่าหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไปรวมด้วย เช่น ค่าวัสดุเสริม ค่านายหน้า หรือค่าสิทธิ เป็นต้น
วิธีที่ 2 ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน หมายถึงราคาซื้อขายของที่เหมือนกันทุกอย่าง เช่น ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพและชื่อเสียง ซึ่งผลิตในประเทศเดียวกันและเป็นผู้ผลิตเดียวกันกับของที่กำลังประเมินราคา
วิธีที่ 3 ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน หมายถึงราคาซื้อขายของที่คล้ายกันกับของที่กำลังประเมินราคา เช่น วัสดุ ส่วนประกอบ และลักษณะ ทางกายภาพต่าง ๆ สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกันและแลกเปลี่ยนระหว่างกันในทางการค้าได้กับของ ที่กำลังประเมินราคา นอกจากนี้ยัง ต้องผลิตในประเทศเดียวกันและเป็นผู้ผลิตเดียวกันกับของที่กำลังประเมินราคา
วิธีที่ 4 ราคาหักทอน หมายถึงราคาที่กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาสินค้าที่กำลังประเมิน หรือสินค้าที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่จำหน่ายอยู่ใน ประเทศไทย โดยหักทอนค่าใช้จ่ายบางส่วนออกไป เช่น ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าภาษีอากรในประเทศไทย มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่เกิดขึ้นจากการประกอบหรือผ่านกระบวนการเพิ่มเติม
วิธีที่ 5 ราคาคำนวณ หมายถึงราคาที่กำหนดขึ้นตามต้นทุนการผลิตของสินค้าที่กำลังประเมินราคาบวกกับกำไรและค่าใช้จ่ายทั่วไปที่รวมอยู่ ตามปกติในการขายจากประเทศส่งออกมายังประเทศไทย
วิธีที่ 6 ราคาย้อนกลับ หมายถึง การกำหนดราคาโดยใช้วิธียืดหยุ่นของวิธีใด ๆ ก็ตามจากวิธีที่ 1-5 เพื่อให้สามารถกำหนดราคาสินค้าได้
  1. การ กำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 1 สำหรับของที่นำเข้าเมื่อได้มีการขายเพื่อส่งออกมายังราชอาณาจักร ต้องมีการปรับราคาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ
ตอบ   1. ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่ต้องนำมาบวกเข้าไปกับราคาซื้อขายของที่นำเข้าในการกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 1
(1) ค่าสิทธิและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับของที่นำเข้าไม่ว่า โดยทางตรงหรือ
ทางอ้อมอันเป็นเงื่อนไขในการขายของนั้น
(2) รายได้ซึ่งผู้ขายได้รับจากการที่ผู้ซื้อนำของที่นำเข้าไปใช้ หรือขายต่อไม่ว่าโดย
ทางตรงหรือทางอ้อม
(3) ค่าประกันภัยค่าขนส่งของที่นำเข้ามายังท่าหรือที่ที่นำของเข้า ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้นและค่าจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง ของที่นำเข้ามายังท่าหรือที่ที่นำของเข้า
(4) ในกรณีผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายหรือมูลค่าตามรายการดังต่อไปนี้ให้นำ ค่าใช้จ่ายหรือมูลค่านั้นรวมไว้ในราคาซื้อขายของที่นำเข้าด้วย
ค่าธรรมเนียมหรือค่าบำเหน็จตัวแทนและนายหน้า แต่ไม่รวมค่าธรรมเนียมหรือ ค่าบำเหน็จตัวแทนเนื่องจากการซื้อ ค่าภาชนะบรรจุที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของของที่นำเข้าตามความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรค่าวัสดุและค่าแรงงานในการบรรจุหีบห่อของที่นำเข้า
(5) ในกรณีที่ผู้ซื้อเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์หรือบริการดังต่อไปนี้ เพื่อใช้ในการผลิตและการขายเพื่อส่งออกของที่นำเข้า ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นำมูลค่าของวัสดุ อุปกรณ์หรือบริการดังกล่าวมารวมไว้ในราคาซื้อขายของที่นำเข้าด้วยวัสดุ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วนหรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงกัน ที่รวมอยู่ในของที่นำเข้าเครื่องมือ แม่พิมพ์ แบบพิมพ์ หรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงกัน ที่ใช้ในการผลิตของที่นำเข้า วัสดุที่ใช้สิ้นเปลืองไปในการผลิตของที่นำเข้า
2.ค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาหักออกจากราคาซื้อขายของที่นำเข้าในการกำหนดราคาศุลกากร                      ตามวิธี 1
(1) ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ติดตั้ง ประกอบ บำรุงรักษา หรือการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการที่กระทำขึ้นภายหลังจากการนำเข้าของนั้น
(2) ค่าขนส่งภายหลังจากการนำเข้าสำเร็จแล้ว
(3) ค่าอากรและภาษีเนื่องจากการนำเข้า
  1. ราคาซื้อขายของที่จะนำเข้าที่ใช้ในการกำหนดราคาศุลกากรต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ผู้ซื้อจะต้องไม่ถูกจำกัดในการจำหน่ายหรือการใช้ของนั้น เว้นแต่จะเป็นข้อจำกัดที่
กำหนด ขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายหรือโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ห้ามขายของแก่ผู้เยาว์ ให้ตรวจสอบหรือทดสอบก่อนใช้ของ หรือให้มีสลากหีบห่อตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น
เป็น การห้ามของที่นำเข้านั้นไปขายต่อในสถานที่หรือพื้นที่บางแห่งเช่นผู้ขาย กำหนดให้ผู้ซื้อขายของนั้นเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น เป็นต้น ไม่ มีผลกระทบอย่างมากต่อราคาของของที่นำเข้า เช่น กรณีผู้ขายกำหนดห้ามผู้ซื้อแสดง หรือ ขายรถยนต์ก่อนวันเริ่มต้นรุ่นปีของรถยนต์นั้น
การ ขายหรือราคาขายต้องไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือสิ่งตอบแทนบางประการที่มิอาจ กำหนดเป็นมูลค่าได้เช่นผู้ซื้อจะต้องซื้อของอย่างอื่นจากผู้ขายตามจำนวนที่ ระบุไว้ด้วยผู้ซื้อจะต้องขายของอย่างอื่นให้กับผู้ขายด้วย หรือ ผู้ซื้อจะต้องส่งของสำเร็จรูปให้กับผู้ขายวัตถุดิบหรือวัตถุดิบกึ่งสำเร็จ รูปที่ใช้ในการผลิตด้วย เป็นต้น
(2) ผู้ขายต้องไม่ได้รับรายได้จากการที่ผู้ซื้อนำของที่นำเข้าไปใช้หรือขายต่อใน ภายหลัง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นกรณีที่อาจนำมารวมไว้ในราคาได้ตามข้อ 2.1
(3) ผู้ซื้อต้องไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ขาย เว้นแต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะไม่มีผลต่อราคาซื้อขายของที่นำเข้า
  1. ผู้นำเข้าควรตรวจสอบว่า ราคาสินค้านำเข้าที่ท่านสำแดงต่อศุลกากรเป็นไปที่กำหนดไว้ในระบบราคาแกตต์ หรือไม่ โดยตอบคำถามแนวทางการประเมินราคาแกตต์สำหรับผู้นำเข้า ดังต่อไปนี้คือ
ตอบ   1. แหล่งกำเนิดสินค้า?
  1. เป็นความจริงหรือไม่ที่ผู้ส่งออกไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกโดยมีการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า?
  2. การผลิตสินค้าโดยทั่วไปก็ต้องมีส่วนผสมหรือชิ้นส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศเช่นกัน ความตกลงการค้าเสรีกำหนดคำจำกัดความของแหล่งกำเนิดสินค้าไว้ว่าอย่างไร? การรู้คำจำกัดความก็มีส่วนทำให้ผู้ประกอบการพอจะทราบว่าสินค้าที่ผลิตจะได้รับการรับรองหรือไม่
  3. การทราบความหมายของคำว่าผลิตทั้งหมด (Wholly obtained) จะทำให้ทราบว่ามีสินค้าใดบ้างที่ถือว่าเป็นสินค้าที่ผลิตทั้งหมดในไทยอย่างชัดเจน
  4. สำหรับสินค้าที่ไม่ได้ผลิตทั้งหมดในไทยเนื่องจากมีชิ้นส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย จะต้องผ่านเงื่อนไขเฉพาะอะไรบ้าง?
  5. ในประเทศไทย หน่วยงานที่ให้บริการออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ได้แก่
  6. ขั้นตอนในการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (เฉพาะที่ส่งไปออสเตรเลีย)
  7. การรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าในกรณีของการส่งสินค้าไปนิวซีแลนด์แตกต่างกับกรณีการส่งไปออสเตรเลียอย่างไร?
  8. ข้อความที่ต้องใช้ในการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าโดยผู้ส่งออกไทยหรือผู้ผลิตไทย
  9. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขพิจารณาว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยหรือไม่ มีอยู่ 2 อย่าง คือ
ตอบ   1) สินค้านั้นต้องผลิตทั้งหมด (Wholly obtained) ในไทย ซึ่งมีการให้คำจำกัดความไว้
2) หากสินค้านั้นไม่ได้ผลิตทั้งหมดในไทย ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขเฉพาะที่ระบุไว้เป็นรายสินค้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น