การจัดการเพื่อคุ้มครองอนุรักษ์ รักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา
- การอนุรักษ์ (conservation) คือ
ตอบ การจัดการใช้ประโยชน์จากชีวมณฑลอย่างชาญฉลาด โดยมุ่งที่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อคงเหลือให้ชนรุ่นหลังได้พัฒนาใช้ประโยชน์ (IUCN 1980) ในอดีตนั้น การอนุรักษ์คือการเก็บรักษา (preservation) โดยอยู่ในรูปแบบของการปกป้องให้ถูกแตะต้องโดยน้ำมือมนุษย์ให้น้อยที่สุด เช่น การจัดทำพื้นที่ป่าสงวน เขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น ข้อดีของการอนุรักษ์ในรูปแบบนี้ ก็คือ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้น จะสามารถมีการพัฒนาและวิวัฒนาการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี เช่นมีการปรับตัวให้ทนร้อน ทนหนาว ทนแล้ง ทนต่อน้ำท่วมขัง เป็นต้น
- circa situ conservation คือ
ตอบ การอนุรักษ์โดยอาศัยหลักการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การจัดทำพื้นที่ป่าชุมชน (community forest) หรือการจัดทำพื้นที่เกษตรป่าไม้ (Agroforestry) เป็นต้น
- “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” คืออะไร
ตอบ “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” หรือ Convention on Biological Diversity เรียกย่อ ๆ ว่า CBD เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากความพยายามของสังคมนานาชาติ ที่จะยับยั้งการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพของโลก ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ตลอดจนถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ ได้รับการรับรองจากผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) หรือที่เรียกกันว่า “Earth Summit” เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศ บราซิล และมีผลบังคับใช้ 90 วันหลังจากมีประเทศภาคีครบ 30 ประเทศ ซึ่งก็คือวันที่ 29 ธันวาคม 2536 เป็นต้นมา
- วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่
ตอบ – เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- เพื่อใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
- เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ทั้งนี้โดยจัดให้มี
- การเข้าถึงทรัพยากรอย่างเหมาะสม
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และ
- การสนับสนุนทุนอย่างเหมาะสม
- ไซเตส หมายถึง
ตอบ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่า และพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ จัดให้มีกระประชุมนานาชาติขึ้น ที่กรุงวอชิงต้น ดี.ซี. และร่างอนุสัญญาไซเตสขึ้น มีประเทศที่เข้าร่าวมประชุมถึง 88 ประเทศและมีประเทศที่ลง นามรับรองและเห็นด้วยกับอนุสัญญาฉบับตี้ทันทีถึง 21 ประเทศ
- เป้าหมายสำคัญของอนุสัญญาไซเตส คืออะไร
ตอบ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์ แห่งมวลมนุษยชาติ โดยเน้นทรัพยกรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือที่มีการคุกคาม ทำให้ประมาณลดลงจน อาจจะสูญพันธุ์ไป วิธีการของการอนุรักษ์ที่ได้กล่าวไว้ในอนุสัญญาไซเตสนั้น ทำโดยสร้างเครือข่ายขึ้นทั่วโลกเพื่อควบคุม การค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไซเตสจะไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ ท้องถิ่น
- สัตว์ป่าที่อยู่ในการควบคุมของอนุสัญญาไซเตส จะต้องมีใบอนุญาตดังต่อไปนี้คือ
ตอบ 1.นำเข้า 2. ส่งออก 3. นำผ่าน 4. ส่งกลับออก
การค้นคว้าวิจัยและพัฒนางานด้านทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ
ในพื้นที่อนุรักษ์
- ความหลากหลายทางชีวภาพมีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง คือ
ตอบ ความหลากหลายในเรื่องชนิด (Species Diversity)
ความหลากหลายของพันธุกรรม (Genetic Diversity)
ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem Diversity)
- ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ คือ
ตอบ สิ่งมีชีวิตใช้เวลานานในการกำเนิดและวิวัฒนาการ ที่ใดมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายที่นั้นย่อมมีกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่สลับซับซ้อน และมีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตสูง สิ่งมีชีวิตบางชนิดเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แพร่พันธุ์กว้างไกลไปทั่วโลก แต่มีมากมายหลายชนิดที่อยู่เฉพาะที่เฉพาะแห่งเท่านั้น ดังนั้น มุมต่าง ๆ ของโลกย่อมมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันไป เช่น ป่าไม้สักพบเฉพาะในอินเดีย พม่า ไทย และลาวเท่านั้น เราเสียดายหากสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไป เพราะสิ่งมีชีวิตนั้นไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีกแล้ว หรือไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ และไม่มีโอกาสวิวัฒนาการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอีกต่อไป ยิ่งในปัจจุบันเราสามารถถ่ายทอดยีนส์จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ทำให้สูญเสียแหล่งยีนส์ที่มีลักษณะพิเศษ และมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษยชาติ
- เครื่องมือที่สำคัญยิ่งอันหนึ่งในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพคืออะไร
ตอบ พื้นที่อนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
พื้นที่อนุรักษ์ยิ่งมีขนาดเล็ก จะได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของแนวขอบป่า (edge effect) มาก อิทธิพลแนวขอบป่า (edge effect) ก็คืออัตราส่วนระหว่างระยะทางของแนวขอบป่ากับเนื้อที่ภายใน ตามแนวขอบป่าแสงสว่างจะส่องเข้าไปข้างในป่าได้มาก อากาศใกล้ผิวดินตามแนวขอบป่าก็ผันแปรมาก เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น พืชหลายชนิดได้ปรับตัวเองให้เข้าอยู่กับสภาพภายในป่า ตามขอบป่าอยู่ไม่ได้ การมีขอบป่ามาก ๆ มลพิษและคนอพยพเข้าไปทำลายได้ง่าย
พื้นที่อนุรักษ์หลายแห่งมีสภาพเป็นเกาะ อยู่ท่ามกลางป่าที่เสื่อมโทรม หรือท่ามกลางบริเวณที่ปลูกพืชไร่ การแบ่งพื้นที่อนุรักษ์ออกเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อย เช่น โดยการตัดถนน หรือโดยอ่างเก็บน้ำที่เป็นแนวยาว เกิดจากการสร้างเขื่อนจะมีผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในที่สุด ความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลง พื้นที่ยิ่งมีขนาดเล็ก จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่พบจะมีจำนวนชนิดลดตามลงด้วย กฎง่าย ๆ ตามทฤษฎีชีวภูมิศาสตร์ของเกาะ (Theory of Island Biogeography) บอกว่า “ถ้าสูญเสียพื้นที่ไป 90% (มีเหลือเพียง 10%) ในที่สุดจะทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปครึ่งหนึ่ง” พื้นที่อนุรักษ์จึงไม่ควรต่ำกว่า 10% ความจริงโลกเรามีพื้นที่อนุรักษ์เพียง 3.2% เท่านั้น
- การอนุรักษ์พื้นที่เพื่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่
ตอบ การอนุรักษ์พื้นที่ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและแหล่งพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ในประเทศไทยมีการกันพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่อนุรักษ์ใน 6 ลักษณะโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้คือ
ก) อุทยานแห่งชาติ เป็นพื้นที่ที่รัฐบาลสงวนไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ทางการคุ้มครองรักษาหรือ อนุรักษ์ สภาพธรรมชาติและถิ่นกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายในอุทยานแห่งชาตินั้น ประกอบกันการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และการ พักผ่อน หย่อนใจเช่นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็นต้น
ข) วนอุทยาน เป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีจุดเด่นตามธรรมชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่เช่น น้ำตก ถ้า หน้าผา มีพื้นที่ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วนอุทยานถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ เป็นต้น
ค) สวนพฤกษศาสตร์ เป็นสวนที่สร้างขึ้นสำหรับการรวมพันธุ์ไม้เพื่อจุดประสงค์ทาง การศึกษา อาจจะเป็นการรวบรวมพันธุ์ไม้ในท้องถิ่นหรือ ต่างท้องถิ่นกันก็ได้ โดยมีการจัดแยกหมวดหมู่ของต้นไม้ ในประเทศไทยมีการจัดตั้งสวน พฤกษศาสตร์ 15 แห่ง เช่น สวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลางเขาแค จังหวัดสระบุรี สวนพฤกษศาสตร์พัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นต้น
ง) สวนรุกขชาติ เป็นพื้นที่ที่รวบรวมพันธุ์ไม้เพื่อการพักผ่อนของประชาชน เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่มีการจัด หมวดหมู่มากนักในประเทศไทยมีจำนวน 44 แห่ง เช่น สวนรุกขชาติห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
จ) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพื่อให้สัตว์ป่าได้สืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้มากขึ้นและกระจายออกไปยังแหล่งใกล้เคียงในประเทศไทยเช่นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง
ฉ) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเป็นอาณาบริเวณที่ราชการกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดขนาดไม่กว้าง ขวาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อยเขาประดู่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เป็นต้น
ก) อุทยานแห่งชาติ เป็นพื้นที่ที่รัฐบาลสงวนไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ทางการคุ้มครองรักษาหรือ อนุรักษ์ สภาพธรรมชาติและถิ่นกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายในอุทยานแห่งชาตินั้น ประกอบกันการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และการ พักผ่อน หย่อนใจเช่นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็นต้น
ข) วนอุทยาน เป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีจุดเด่นตามธรรมชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่เช่น น้ำตก ถ้า หน้าผา มีพื้นที่ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วนอุทยานถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ เป็นต้น
ค) สวนพฤกษศาสตร์ เป็นสวนที่สร้างขึ้นสำหรับการรวมพันธุ์ไม้เพื่อจุดประสงค์ทาง การศึกษา อาจจะเป็นการรวบรวมพันธุ์ไม้ในท้องถิ่นหรือ ต่างท้องถิ่นกันก็ได้ โดยมีการจัดแยกหมวดหมู่ของต้นไม้ ในประเทศไทยมีการจัดตั้งสวน พฤกษศาสตร์ 15 แห่ง เช่น สวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลางเขาแค จังหวัดสระบุรี สวนพฤกษศาสตร์พัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นต้น
ง) สวนรุกขชาติ เป็นพื้นที่ที่รวบรวมพันธุ์ไม้เพื่อการพักผ่อนของประชาชน เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่มีการจัด หมวดหมู่มากนักในประเทศไทยมีจำนวน 44 แห่ง เช่น สวนรุกขชาติห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
จ) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพื่อให้สัตว์ป่าได้สืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้มากขึ้นและกระจายออกไปยังแหล่งใกล้เคียงในประเทศไทยเช่นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง
ฉ) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเป็นอาณาบริเวณที่ราชการกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดขนาดไม่กว้าง ขวาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อยเขาประดู่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เป็นต้น
- นโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ดังนี้
ตอบ 1. นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และ
2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และ
ด้านการอุตสาหกรรม
5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
- สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย คืออะไร
ตอบ 1.การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น
- การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
- การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
- การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
- ไฟไหม้ป่า มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก
- การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้าง ถนน หนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น