หน้าแรก

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

แจกแนวข้อสอบ ถาม – ตอบ ความรู้เบื้องต้นในหลักสูตรการฝึกทหารใหม่‏



  1. การจัดตั้งหน่วยฝึกทหารใหม่มีความมุ่งหมายเพื่ออะไร
ตอบ     เพื่อให้มีคณะบุคคลคณะหนึ่ง ดำเนินการฝึก อบรม อำนวยการ กำกับดูแล รวมถึงการเตรียมการด้านธุรการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกทหารใหม่ ให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย ทำให้ทหารใหม่ทุกนายได้รับการฝึก ศึกษาวิชาการทหารเบื้องต้นที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเป็นพื้นฐานที่เหมาะสมในการฝึกศึกษาหลักสูตรการฝึก ของแต่ละเหล่าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
  1. หน่วยฝึกทหารใหม่จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ               1. จำนวนทหารใหม่ใน 1 หน่วยฝึก ต้องมีจำนวน 80 – 160 นาย
  1. มีพื้นที่ฝึก/สนามฝึก สนามยิงปืนของหน่วยเอง สามารถดำเนินการฝึกได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยอื่น
  2. มีอาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสัดส่วน มีเอกภาพในการควบคุมบังคับบัญชา
  3. มีเครื่องช่วยฝึกเพียงพอ และเหมาะสมต่อจำนวนทหารใหม่ที่รับการฝึก
  4. หน่วยฝึกที่ได้รับการจัดตั้งจะต้องดำเนินการฝึกครูทหารใหม่
  5. เจ้าหน้าที่ในหน่วยฝึกทหารใหม่ ประกอบด้วย
ตอบ  ผบ.หน่วยฝึก , เจ้าหน้าที่ธุรการประจำหน่วยฝึก, ผู้ฝึก, ผู้ช่วยผู้ฝึก, ครูนายสิบ และครูทหารใหม่
  1. ผบ.หน่วยฝึก : จัดจากนายทหารชั้นสัญญาบัตรภายในหน่วยที่มีอาวุโสด้วยคุณวุฒิ โดยปกติแล้ว ควรจะเป็น ผู้บังคับกองร้อย หรือ บุคคลที่มียศสูงกว่าผู้ฝึกฯ โดยมีหน้าที่ อำนวยการ และกำกับดูแลให้การฝึก เป็นไปตามความมุ่งหมาย และเจตนารมณ์ของหน่วย และดำเนินการด้านธุรการ การสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงการจัดเตรียมสิ่งอุปกรณ์, เครื่องช่วยฝึก และสนามฝึก เพื่อให้การฝึกมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.เจ้าหน้าที่ธุรการประจำหน่วยฝึก : จัดจากกำลังพลภายในหน่วย จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือ และเป็นลูกมือ ให้กับ ผบ.หน่วยฝึก ในการปฏิบัติงานด้านธุรการ และการสนับสนุนการฝึกทหารใหม่ รวมถึงงานการบริการ และ การรักษาความปลอดภัยด้วย
3 ผู้ฝึก : จัดจาก ผบ.มว.อาวุโสที่มีประสบการณ์ในการฝึก หรืออย่างน้อยได้ผ่านการทำหน้าที่เป็น ผู้ช่วยผู้ฝึกมาแล้ว โดยมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการฝึก และทำหน้าที่ปกครองทหารใหม่พร้อม ๆ กันไปด้วย
  1. ผู้ช่วยผู้ฝึก : จัดจาก ผบ.มว.ที่มีอาวุโสต่ำกว่าผู้ฝึก หรือ จ.ส.อ. อาวุโสที่มีประสบการณ์ในด้านการ ฝึกทหารใหม่มาแล้ว โดยให้จัดตามความเหมาะสมอย่างน้อย 1 นาย
  2. ครูนายสิบ : จัดจาก นายสิบที่มีความรู้ ความสามารถ มีลักษณะท่าทางที่ดี เพื่อทำหน้าที่ ฝึกสอน ตามวิชาที่ได้รับมอบ และดูแลทหารใหม่อย่างใกล้ชิด โดยให้จัดครูนายสิบ 1 นาย ต่อครูทหารใหม่ 1 นาย เช่น ครูทหารใหม่ทั้งสิ้น จำนวน 15 นาย ให้จัดครูนายสิบ จำนวน 15 นาย ด้วยเช่นกัน
  3. ครูทหารใหม่ : จัดจากพลทหารที่สำเร็จการฝึกหลักสูตรครูทหารใหม่ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือครู นายสิบ โดยจำนวนครูทหารใหม่ให้ถือเกณฑ์ จำนวนทหารใหม่ 8 นาย ต่อครูทหารใหม่ 1 นาย เศษให้ตัดทิ้ง และให้มียอดอะไหล่ร้อยละ 20 ของจำนวนครูทหารใหม่ของหน่วย
  4. สัดส่วนครูนายสิบ : ครูทหารใหม่ : ทหารใหม่ เป็นเท่าใด
ตอบ    1 : 1 : 8
  1. หน่วยฝึกทหารใหม่จะต้อง เบิก-รับ เครื่องช่วยฝึก , แผ่นภาพเครื่องช่วยฝึก และอุปกรณ์การฝึก ให้เรียบร้อย ก่อนดำเนินการฝึก โดยให้ปฏิบัติดังนี้คือ
ตอบ   1. เตรียมไว้ให้เพียงพอกับการใช้ในการฝึกทหารใหม่ ทุกวิชาทุกเรื่อง
  1. ตรวจสภาพให้เรียบร้อย มีการเก็บรักษาที่เหมาะสม และมีการซ่อมบำรุงให้พร้อมใช้งาน
  2. มีบัญชีคุม และสมุดยืม เรียบร้อย
4.นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง โดยนำมาใช้ประกอบการฝึกหรือสอนทุกครั้ง
  1. สนามฝึกที่ใช้ทำการฝึกทหารใหม่มีดังนี้ คือ
ตอบ   1. สนามฝึกบุคคลเบื้องต้น และแถวชิด ควรเป็นสนามหญ้า พื้นเรียบมีแท่นสูงสำหรับผู้ฝึก สามารถ รองรับทหารใหม่ขณะทำการฝึกได้เพียงพอ ทั้งท่าอยู่กับที่และท่าเคลื่อนที่ต่าง ๆ รวมทั้งสามารถฝึกรวมการทั้ง หน่วยฝึกได้
  1. สนามฝึกกายบริหาร
2.1 กายบริหารอยู่กับที่ เป็นลานพื้นเรียบ มีแท่นสูงสำหรับผู้ฝึก พื้นที่เพียงพอสำหรับการขยาย ระยะต่อ และระยะเคียงของทหารใหม่ทั้งหน่วยฝึกได้
2.2 ราวดึงข้อ มีการยึดตรึง แข็งแรง และเกิดความปลอดภัยขณะปฏิบัติ
2.3 สนามฝึกวิ่ง มีระยะทางรวม 2,000 เมตร ขนาดความกว้างเพียงพอ และการจราจรไม่พลุกพล่าน
  1. สนามฝึกยิงปืนเบื้องต้น ตั้งอยู่ในที่โล่งได้ระยะตามคู่มือการฝึก (แบบวงกลม หรือแบบคู่ขนาน)
  2. สนามฝึกทางยุทธวิธี ให้เลือกพื้นที่และภูมิประเทศที่สามารถทำการฝึกได้เหมาะสมกับภูมิประเทศ ในการรบ ให้มีความกว้าง และความลึกในระดับหมู่ ปล. ลักษณะการวางเครื่องกีดขวางให้วางสลับ มิใช่วางเป็นแถว ตรงกัน ป้อมสนาม และหลุมบุคคล ควรอยู่ในพื้นที่ที่ต้องมีการปกปิดกำบัง และซ่อนพราง การดัดแปลง ภูมิประเทศต่าง ๆ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมในการฝึกให้เกิดความเข้าใจ เมื่อต้องนำไปใช้ปฏิบัติทางยุทธวิธี
  3. สนามฝึกยิงปืนระยะ 25 เมตร (1,000 นิ้ว) เน้นความปลอดภัยของสนามฝึกยิงปืนและบริเวณ โดยรอบขณะทำการฝึก ช่องยิง แนวยิง และเป้าต้องมีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน รวมทั้งหน่วยต้องกำหนดให้มี มาตรการรักษาความปลอดภัยในการใช้สนามฝึกดังกล่าวด้วย
  4. สนามฝึกขว้างลูกระเบิด ต้องอยู่ในที่โล่ง รูปแบบตามคู่มือการฝึก ฯ
  5. สนามฝึกการใช้ดาบปลายปืน ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สามารถทำการฝึกได้อย่างเหมาะสม ตามระยะที่ กำหนด และต้องตรวจสอบเครื่องช่วยฝึกให้ใช้งานได้ และมีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา
  6. สนามฝึกเดินทางด้วยเข็มทิศ ลักษณะพื้นที่เป็นป่าโปร่ง ควรอยู่แยกต่างหากจากสนามฝึกอื่น ๆ
  7. สนามฝึกบุคคลทำการรบ ให้สามารถทำการฝึกได้ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน มีความเหมาะสม ใกล้เคียงกับความเป็นจริงของการรบให้มากที่สุด หากมีการดัดแปลงภูมิประเทศต้องให้มีความสมจริง
  8. สนามฝึกสร้างเครื่องกีดขวาง ให้มีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสมสำหรับเป็นการรั้งหน่วง หยุด การเคลื่อนที่ของข้าศึก
  9. พื้นที่การฝึกลาดตระเวน ให้พิจารณาภูมิประเทศที่มีทั้งที่โล่งแจ้ง, ป่าเขา, ลำธาร และเส้นทาง สามารถทำการฝึกได้ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน
  10. พื้นที่การฝึกป้อมสนาม ควรมีระยะที่สามารถปฏิบัติในระดับหมู่ ปล.ได้ เมื่อดัดแปลงภูมิประเทศแล้ว ต้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ
  11. พื้นที่การฝึกเคลื่อนที่ทางยุทธวิธี และการพักแรมในสนาม เป็นพื้นที่ที่ห่างจากหน่วยประมาณ 4 ชม. เดิน และมีความพร้อมสำหรับการค้างแรมในสนาม เช่น แหล่งน้ำ เส้นทางส่งกำลังบำรุง เป็นต้น
  12. การจัดตารางกำหนดการฝึกหลักมีความสำคัญมาก เพราะอะไร
ตอบ   เพราะจะทำให้ ทราบว่า สัปดาห์ใดมีชั่วโมงการฝึกกี่ชั่วโมง จะฝึกเรื่องอะไร เป็นเวลาเท่าใด ครอบคลุมการฝึกครบทุกวิชาทุก เรื่องหรือไม่ มีจำนวนชั่วโมงการฝึกครบถูกต้องตามที่ระเบียบหลักสูตรฯ กำหนด ก่อนการจัดทำตารางกำหนดการฝึก หลัก และตารางกำหนดการฝึกประจำสัปดาห์ จึงต้อง มีการวางแผนการฝึกขึ้น
  1. หลักสูตรการฝึกทหารใหม่เฉพาะหน้าที่จะต้องทำการฝึก ภายหลังจบการฝึกทหารใหม่แล้ว ไม่เกิน กี่วัน
ตอบ   ไม่เกิน   15 วัน
  1. การฝึกทหารให้ใช้การฝึกที่เน้นผลการปฏิบัติทหารให้ฝึกปฏิบัติมาก ๆ เพื่ออะไร
ตอบ   เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญในการ ปฏิบัติแต่ละเรื่อง
  1. ผู้ฝึกสามารถทำการฝึกได้กี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ   3 แบบ คือ
– การฝึกแบบรวมการ เช่น วิชาการสอนอบรม, การฝึกแถวชิด
– การฝึกแบบแยกการ เป็นการฝึกหมุนเวียน แยกเป็นสถานีฝึก
– การฝึกแบบผสม (ทั้งแบบรวมการ และแยกการ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น