- ใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศมีกี่ประเภท
ตอบ 3 ประเภท ได้แก่
- แบบประจำมีกำหนด
2 แบบไม่ประจำ
3 โดยใช้เฮลิคอปเตอร์
- ใบอนุญาตแบบประจำมีกำหนด มีประเภทใดบ้าง
ตอบ (1) แบบประจำมีกำหนดภายในประเทศ
(2) แบบประจำมีกำหนดระหว่างประเทศ
(3) แบบประจำมีกำหนดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
- ใบอนุญาตแบบไม่ประจำ มีประเภทใดบ้าง
ตอบ (1) แบบไม่ประจำเป็นครั้งคราว
(2) แบบไม่ประจำขนส่งสินค้า และ/หรือ ผู้โดยสาร
(3) แบบไม่ประจำโดยใช้บัลลูนอากาศร้อน/บัลลูน/เรือเหาะ ฯลฯ ทำการบิน
(4) แบบไม่ประจำเพื่อทำการบินลากป้ายโฆษณา/ทิ้งร่มอากาศ/ฯลฯ
- ใบอนุญาตโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ มีประเภทใดบ้าง
ตอบ (1) แบบประจำมีกำหนดโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ (2) แบบไม่ประจำโดยใช้เฮลิคอปเตอร์
- การประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศโดยใช้อากาศยานปีกแข็งจะต้องมีทุนประกอบการเท่าใด
ตอบ (ก)สำหรับการบินแบบไม่ประจำทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ตํ่ากว่า 25 ล้านบาท
(ข)สำหรับการบินแบบไม่ประจำโดยใช้อากาศยานเครื่องยนต์เดียวแบบลูกสูบทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ตํ่ากว่า 10 ล้านบาท
(ค)สำหรับการบินแบบประจำทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ตํ่ากว่า 200 ล้านบาท
- การประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศโดยใช้เฮลิคอปเตอร์จะต้องมีทุนประกอบการเท่าใดตอบ ทุนประกอบการ (ทุนจดทะเบียน) ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ตํ่ากว่า 30 ล้านบาท
2.หุ้น จะต้องไม่มีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ และหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นทั้งหมด
- การประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศโดยใช้บอลลูน จะต้องมีทุนประกอบการเท่าใด
ตอบ ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ไม่ตํ่ากว่า 4 ล้านบาททุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ตํ่ากว่า 7 ล้านบาท
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีสิทธิเพิกถอนหรือพักใช้ใบอนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หากปรากฏว่าผู้รับอนุญาตปฏิบัติเช่นใด
ตอบ 1. ไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี
- ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ รวมตลอดถึง กฎระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับ เงื่อนไขประกอบใบอนุญาต หรือมาตรการความปลอดภัยในการเดินอากาศ ตามที่กรมการขนส่งทางอากาศกำหนด
- มิได้ควบคุมดูแลให้การประกอบการ หรือการปฏิบัติการบินเป็นไปตามข้อกำหนดการปฏิบัติการ (Operation Specifications) ที่ระบุในใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate) หรือคู่มือการปฏิบัติการบิน (Flight Operation Manual) หรือคู่มือการบำรุงรักษาอากาศยานทั่วไป (Generation Maintenance Manual) ที่กรมการขนส่งทางอากาศได้เห็นชอบแล้ว
- ทำการบินตามสิทธิในเส้นทางบินซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ตารางการบินแบบประจำมีกำหนดมีกำหนดภายในประเทศแล้ว แต่หยุดทำการบินไปทั้งหมด หรือแต่บางส่วนเกินกว่า 15 วัน โดยมิได้รับอนุญาตจากกระทรวงคมนาคม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีสิทธิเพิกถอนเส้นทางบินใด ๆ ที่ได้รับอนุญาต หากปรากฏว่าผู้รับอนุญาตปฏิบัติเช่นใด
ตอบ ไม่ทำการบินภายในเส้นทางบินนั้น ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
ทำการบินตามเส้นทางบินนั้นไม่สม่ำเสมอตามตารางการบิน
- กระทรวงคมนาคมได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศภายในประเทศไว้อย่างไร
ตอบ 1. ผู้ประกอบการที่เสนอขอให้บริการในเส้นทางบินหลัก และ/หรือเส้นทางบินสายรอง จะต้องจัดสรรการให้บริการในเส้นทางบินสายย่อย
- หลักเกณฑ์การกำหนดเส้นทางสายหลัก เส้นทางสายรอง และเส้นทางสายย่อย จะกำหนดไว้ดังนี้
เส้นทางสายหลักคือเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารรวมเกินกว่า 400,000 คนต่อปี
เส้นทางสายรองคือเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารรวม 50,000–400,000 คนต่อปี
เส้นทางสายย่อย คือ เส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารรวมต่ำกว่า 50,000 คนต่อปีหรือเป็นเส้นทางใหม่ที่ยังไม่เคยมีการทำการบินมาก่อน
- เส้นทางบินเชื่อมภูมิภาค เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่อนุญาตเส้นทาง ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่า กระทรวงคมนาคมจะติดตามวิเคราะห์ผลการให้บริการทุก ๆ ระยะหนึ่งปี หากผู้ประกอบการไม่พัฒนากิจการการบินให้เพียงพอต่อความต้องการของสาธารณชน กระทรวงคมนาคมจะยกเลิกการคุ้มครองดังกล่าว
- กรณีผู้ประกอบการที่เปิดให้บริการเฉพาะเส้นทางสายหลัก และ/หรือเส้นทางบินสายรอง โดยไม่เปิดให้บริการในเส้นทางสายย่อย กระทรวงคมนาคมจะไม่พิจารณาการเสนอขออนุญาตในเส้นทางสายหลัก และ/หรือ เส้นทางสายรองเพิ่มเติม จนกว่าจะเปิดให้บริการในเส้นทางสายย่อยที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว
- กรณีท่าอากาศยานในสังกัดกรมการขนส่งทางอากาศที่ไม่มีเที่ยวบินประจำไปให้บริการ กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการดังนี้
5.1 ให้ความคุ้มครองผู้ประกอบการในเส้นทางดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตเส้นทาง
5.2 ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการขึ้น/ลง และจอดพักของอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานดังกล่าว รวมทั้งค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นระยะเวลา 3 ปีนับตั้งแต่วันที่เริ่มให้บริการและยังคงการให้บริการในเส้นทางดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น