หน้าแรก

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ สภากาชาดไทย



แนวข้อสอบ บุคลากร สภากาชาดไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับสภากาชาดไทย
2 เก็งข้อสอบสภากาชาดไทย
3 เก็งข้อสอบคณิตศาสตร์
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 เก็งข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 เก็งข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
8 การบริหารทรัพยากรบุคคล
9 นโยบายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
10 เก็งข้อสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
11 เก็งข้อสอบการบริหารงานบุคคลากร
MP3 - P018 - การบริหารทรัพยากรบุคคล




แนวข้อสอบ วิทยาจารย์ สภากาชาดไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับสภากาชาดไทย
2 เก็งข้อสอบสภากาชาดไทย
3 เก็งข้อสอบคณิตศาสตร์
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 เก็งข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 เก็งข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
8 การบริหารทรัพยากรบุคคล
9 นโยบายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
10 เก็งข้อสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
11 เก็งข้อสอบการบริหารงานบุคคลากร
MP3 - P018 - การบริหารทรัพยากรบุคคล





แนวข้อสอบ ธุรการ สภากาชาดไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับสภากาชาดไทย
2 เก็งข้อสอบสภากาชาดไทย
3 ประมวลระเบียบสภากาชาดไทย
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล]
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 เก็งข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 เก็งข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
8 ความรู้เกี่ยวกับงานธุรการ
9 ความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
10 เก็งข้อสอบความรู้งานธุรการ
MP3 - P050 – เทคนิคการสอบสัมภาษณ์






แนวข้อสอบ เภสัชกร สภากาชาดไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับสภากาชาดไทย
2 เก็งข้อสอบสภากาชาดไทย
3 ประมวลระเบียบสภากาชาดไทย
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 เก็งข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 เก็งข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
8 ความรู้ทั่วไปทางเภสัชวิทยา
9 เก็งข้อสอบเภสัชกร
MP3 - P050 – เทคนิคการสอบสัมภาษณ์





แนวข้อสอบ  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สภากาชาดไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับสภากาชาดไทย
2 เก็งข้อสอบสภากาชาดไทย
3 ประมวลระเบียบสภากาชาดไทย
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 เก็งข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 ถาม - ตอบ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
8 เก็งข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
9 เก็งข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ
10 เก็งข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
MP3 - P050 – เทคนิคการสอบสัมภาษณ์




แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 3-5 สภากาชาดไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับสภากาชาดไทย
2 เก็งข้อสอบสภากาชาดไทย
3 ประมวลระเบียบสภากาชาดไทย
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 เก็งข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 ถาม - ตอบ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
8 เก็งข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
9 เก็งข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ
10 เก็งข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
MP3 - P050 – เทคนิคการสอบสัมภาษณ์






แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน สภากาชาดไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับสภากาชาดไทย
2 เก็งข้อสอบสภากาชาดไทย
3 ประมวลระเบียบสภากาชาดไทย
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 เก็งข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 ถาม - ตอบ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
8 เก็งข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
9 เก็งข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ
10 เก็งข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
MP3 - P050 – เทคนิคการสอบสัมภาษณ์






แนวข้อสอบ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภากาชาดไทย
1 ความรู้เกี่ยวกับสภากาชาดไทย
2 เก็งข้อสอบสภากาชาดไทย
3 ประมวลระเบียบสภากาชาดไทย
4 ความสามารถทางด้านเหตุผล
5 ความสามารถด้านภาษาไทย
6 เก็งข้อสอบความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
7 เก็งข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
8 ถาม - ตอบ วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน
9 เก็งข้อสอบ  เครื่องมือทางทางวิทยาศาสตร์
10 เก็งข้อสอบวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน
11 พันธุศาสตร์เบื้องต้น
MP3 - P050 – เทคนิคการสอบสัมภาษณ์











+++(รวมแนวข้อสอบ ที่รวบรวมขึ้นตามประกาศของหน่วยงาน และตำแหน่งปัจจุบัน ในการสอบครั้งนี้)+++
***เนื้อหาประกอบด้วยจำนวน 200-250 หน้าแล้วแต่หน่วยงาน<<<
***หนังสือทางศูนย์ของเรามีทั้งเนื้อหาสรุป และแนวข้อสอบ สามารถสอบได้ทั้งข้อเขียน และข้อกา  
***รวบรวมไว้ทั้งความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะตำแหน่งไว้ในเล่มเดียว
***เนื้อหาครบ  ชัดเจน  ตรงประเด็น  อธิบายเพิ่มความเข้าใจ  พร้อมเฉลยกระชับ เข้าใจง่าย
***อัพเดทก่อนใคร ทันทุกข่าวประกาศสอบ เน้นทำโจย์ สรุปสาระสำคัญ พร้อมเฉลย อ่านง่าย 
เข้าใจเร็วประหยัดเวลาในการอ่านเหมาะสำหรับ เตรียมตัวสอบ
-------------------------------------------
***อ่านเข้าใจง่าย เข้าใจเร็ว ครบ ตรงประเด็น อัดแน่นด้วยคุณภาพ
รวมข้อสอบเก่าเด็ดๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยๆ รวบรวมข้อสอบจากรุ่นพี่ที่สอบได้ จากสนามจริง
และจากสุดยอดติวเตอร์ของสถาบันศูนย์หนังสือสอบราชการ
------------------------------------------
สามารถติดตาม หนังสือเตรียมสอบ ข่าวเปิดสอบ งานราชการ ทุกหน่วยงานได้ที่
ทันข่าว  ทันเหตุการณ์  เปิดสอบ  งานราชการ  งานรัฐวิสาหกิจ
งานเอกชนทุกจังหวัด  ที่ :   https://www.facebook.com/sudsakorn.114/
ดาวโหลดข้อสอบแจกฟรี : http://xn--22c9apfwylu2ac3ab2h2hi6j.blogspot.com/
------------------------------------------
>>> สั่งเป็นหนังสือ
- ใช้กระดาษ 70 แกรม ปกอ่อนกันน้ำ ไม่มีฝุ่น
- เนื้อหาประมาณ 250 หน้า
- รวบรวมความรู้ทั่วไปเเละความรู้เฉพาะตำเเหน่งอัพเดทตลอด
>>> สั่งเป็นไฟล์
- ส่งรวดเร็วทันใจ รอรับได้ ไม่เกิน 3 ชม.
- ปริ้นเองได้ที่บ้านหรือที่ร้านถ่ายเอกสาร
--------------------------------------
>>>จำหน่ายหนังสือ คู่มือเตรียมสอบ หน่วยงานราชการ ทุกตำแหน่ง ทุกหน่วยงาน และ เอกชนต่างๆ
หนังสือสอบ เเบ่งออกเป็น 3 เเบบดังนี้
(1). ไฟล์ E-Book (pdf) ราคา 401 บาทส่งทางอีเมลล์ (ได้รับภายในวันที่โอน)
(2). หนังสือ แถมฟรี Mp3 ไฟล์เสียง พรบ. ราคา 701 บาท  จัดส่งฟรี EMS
(3). หนังสือ พร้อม Mp3 บรรยายเนื้อหาในหนังสือ  ราคา 1,500 บาท  จัดส่งฟรี EMS
-------------------------------
สั่งซื้อมาที่ / สอบถามมาที่ / ชำระเงินแล้วแจ้งใบสลิปหรือหลักฐานการโอนได้ที่
โทร :   085-4944238     (ศูนย์หนังสือสอบ)
Line ID :   sudsak14
--------------------------------
ช่องทางการชำระค่าสินค้าและบริการ ดังนี้
เลขที่บัญชี :010-1-65817-1  ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อบัญชี :  สายันต์  สิงห์ทอง    สาขา  เทสโกโตัสขอนแก่น
ประเภท : ออมทรัพย์
--------------------------------

#### ขอให้โชคดีและประสบความสำเร็จในการทำข้อสอบค่ะ ####
*** ขอขอบพระคุณที่ไว้วางให้ คู่มือสอบของศูนย์หนังสือสอบราชการได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จคุณค่ะ***

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ถาม – ตอบ ความรู้เกี่ยวกับศุลกากร



  1. กรมศุลกากรใช้พิกัดอัตราศุลกากรตามระบบใดในการจัดสินค้าออกเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย
ตอบ    ระบบฮาร์โมไนซ์
กรมศุลกากรใช้พิกัดอัตราศุลกากรตามระบบฮาร์โมไนซ์ในการจัดสินค้า ออกเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย ระบบนี้แบ่งสินค้าออกเป็น 21 หมวด 91 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน
การระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ จะกำหนดเป็นเลข 10 หลัก โดยที่ 7 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ส่วนเลข 3 หลักหลังเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ดังนั้นจึงมีคำสากลที่ใช้กำหนดสินค้าคือพิกัดรหัสสถิติ (Commodity code)
  1. พิกัดรหัสสถิติ (Commodity Code) หมายถึง
ตอบ   เลข 10 ตัว ที่ระบุสินค้าแต่ละรายการ ใช้ในความหมายเดียวกับรหัสสินค้า “พิกัดรหัสสถิติ” เป็นคำที่มีใช้ในระบบสากลและสื่อความหมายของ “พิกัด” ซึ่งประกอบด้วยตอน ประเภท ประเภทย่อย และรหัสสถิติด้วย
  1. คำว่า “ราคาศุลกากร” หรือ “ราคา” แห่งของอย่างใดนั้น ในกรณีของนำเข้า หมายถึง
ตอบ   ราคาของสินค้านำเข้าเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร
  1. ปัจจุบันประเทศไทยใช้ราคาศุลกากรที่เรียกว่า อะไร
ตอบ   “ระบบราคาแกตต์ (GATT Valuation)” ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในการกำหนดราคาสินค้าขาเข้าสำหรับการคำนาณค่าภาษีอากร
  1. การกำหนดราคาศุลกากรตามหลักการของแกตต์มีกี่วิธี
ตอบ    6 วิธี   ได้แก่
วิธีที่ 1 ราคาซื้อขายของที่นำเข้า หมายถึงราคาซื้อขายที่ผู้ซื้อสินค้าได้ชำระจริงหรือที่จะต้องชำระให้กับผู้ ขายในต่างประเทศสำหรับของที่นำ เข้า ซึ่งได้มีการปรับราคาหรือได้นำมูลค่าหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไปรวมด้วย เช่น ค่าวัสดุเสริม ค่านายหน้า หรือค่าสิทธิ เป็นต้น
วิธีที่ 2 ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน หมายถึงราคาซื้อขายของที่เหมือนกันทุกอย่าง เช่น ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพและชื่อเสียง ซึ่งผลิตในประเทศเดียวกันและเป็นผู้ผลิตเดียวกันกับของที่กำลังประเมินราคา
วิธีที่ 3 ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน หมายถึงราคาซื้อขายของที่คล้ายกันกับของที่กำลังประเมินราคา เช่น วัสดุ ส่วนประกอบ และลักษณะ ทางกายภาพต่าง ๆ สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกันและแลกเปลี่ยนระหว่างกันในทางการค้าได้กับของ ที่กำลังประเมินราคา นอกจากนี้ยัง ต้องผลิตในประเทศเดียวกันและเป็นผู้ผลิตเดียวกันกับของที่กำลังประเมินราคา
วิธีที่ 4 ราคาหักทอน หมายถึงราคาที่กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาสินค้าที่กำลังประเมิน หรือสินค้าที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่จำหน่ายอยู่ใน ประเทศไทย โดยหักทอนค่าใช้จ่ายบางส่วนออกไป เช่น ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าภาษีอากรในประเทศไทย มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่เกิดขึ้นจากการประกอบหรือผ่านกระบวนการเพิ่มเติม
วิธีที่ 5 ราคาคำนวณ หมายถึงราคาที่กำหนดขึ้นตามต้นทุนการผลิตของสินค้าที่กำลังประเมินราคาบวกกับกำไรและค่าใช้จ่ายทั่วไปที่รวมอยู่ ตามปกติในการขายจากประเทศส่งออกมายังประเทศไทย
วิธีที่ 6 ราคาย้อนกลับ หมายถึง การกำหนดราคาโดยใช้วิธียืดหยุ่นของวิธีใด ๆ ก็ตามจากวิธีที่ 1-5 เพื่อให้สามารถกำหนดราคาสินค้าได้
  1. การ กำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 1 สำหรับของที่นำเข้าเมื่อได้มีการขายเพื่อส่งออกมายังราชอาณาจักร ต้องมีการปรับราคาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ
ตอบ   1. ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่ต้องนำมาบวกเข้าไปกับราคาซื้อขายของที่นำเข้าในการกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 1
(1) ค่าสิทธิและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับของที่นำเข้าไม่ว่า โดยทางตรงหรือ
ทางอ้อมอันเป็นเงื่อนไขในการขายของนั้น
(2) รายได้ซึ่งผู้ขายได้รับจากการที่ผู้ซื้อนำของที่นำเข้าไปใช้ หรือขายต่อไม่ว่าโดย
ทางตรงหรือทางอ้อม
(3) ค่าประกันภัยค่าขนส่งของที่นำเข้ามายังท่าหรือที่ที่นำของเข้า ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้นและค่าจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง ของที่นำเข้ามายังท่าหรือที่ที่นำของเข้า
(4) ในกรณีผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายหรือมูลค่าตามรายการดังต่อไปนี้ให้นำ ค่าใช้จ่ายหรือมูลค่านั้นรวมไว้ในราคาซื้อขายของที่นำเข้าด้วย
ค่าธรรมเนียมหรือค่าบำเหน็จตัวแทนและนายหน้า แต่ไม่รวมค่าธรรมเนียมหรือ ค่าบำเหน็จตัวแทนเนื่องจากการซื้อ ค่าภาชนะบรรจุที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของของที่นำเข้าตามความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรค่าวัสดุและค่าแรงงานในการบรรจุหีบห่อของที่นำเข้า
(5) ในกรณีที่ผู้ซื้อเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์หรือบริการดังต่อไปนี้ เพื่อใช้ในการผลิตและการขายเพื่อส่งออกของที่นำเข้า ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นำมูลค่าของวัสดุ อุปกรณ์หรือบริการดังกล่าวมารวมไว้ในราคาซื้อขายของที่นำเข้าด้วยวัสดุ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วนหรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงกัน ที่รวมอยู่ในของที่นำเข้าเครื่องมือ แม่พิมพ์ แบบพิมพ์ หรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงกัน ที่ใช้ในการผลิตของที่นำเข้า วัสดุที่ใช้สิ้นเปลืองไปในการผลิตของที่นำเข้า
2.ค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาหักออกจากราคาซื้อขายของที่นำเข้าในการกำหนดราคาศุลกากร                      ตามวิธี 1
(1) ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ติดตั้ง ประกอบ บำรุงรักษา หรือการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการที่กระทำขึ้นภายหลังจากการนำเข้าของนั้น
(2) ค่าขนส่งภายหลังจากการนำเข้าสำเร็จแล้ว
(3) ค่าอากรและภาษีเนื่องจากการนำเข้า
  1. ราคาซื้อขายของที่จะนำเข้าที่ใช้ในการกำหนดราคาศุลกากรต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ผู้ซื้อจะต้องไม่ถูกจำกัดในการจำหน่ายหรือการใช้ของนั้น เว้นแต่จะเป็นข้อจำกัดที่
กำหนด ขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายหรือโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ห้ามขายของแก่ผู้เยาว์ ให้ตรวจสอบหรือทดสอบก่อนใช้ของ หรือให้มีสลากหีบห่อตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น
เป็น การห้ามของที่นำเข้านั้นไปขายต่อในสถานที่หรือพื้นที่บางแห่งเช่นผู้ขาย กำหนดให้ผู้ซื้อขายของนั้นเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น เป็นต้น ไม่ มีผลกระทบอย่างมากต่อราคาของของที่นำเข้า เช่น กรณีผู้ขายกำหนดห้ามผู้ซื้อแสดง หรือ ขายรถยนต์ก่อนวันเริ่มต้นรุ่นปีของรถยนต์นั้น
การ ขายหรือราคาขายต้องไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือสิ่งตอบแทนบางประการที่มิอาจ กำหนดเป็นมูลค่าได้เช่นผู้ซื้อจะต้องซื้อของอย่างอื่นจากผู้ขายตามจำนวนที่ ระบุไว้ด้วยผู้ซื้อจะต้องขายของอย่างอื่นให้กับผู้ขายด้วย หรือ ผู้ซื้อจะต้องส่งของสำเร็จรูปให้กับผู้ขายวัตถุดิบหรือวัตถุดิบกึ่งสำเร็จ รูปที่ใช้ในการผลิตด้วย เป็นต้น
(2) ผู้ขายต้องไม่ได้รับรายได้จากการที่ผู้ซื้อนำของที่นำเข้าไปใช้หรือขายต่อใน ภายหลัง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นกรณีที่อาจนำมารวมไว้ในราคาได้ตามข้อ 2.1
(3) ผู้ซื้อต้องไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ขาย เว้นแต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะไม่มีผลต่อราคาซื้อขายของที่นำเข้า
  1. ผู้นำเข้าควรตรวจสอบว่า ราคาสินค้านำเข้าที่ท่านสำแดงต่อศุลกากรเป็นไปที่กำหนดไว้ในระบบราคาแกตต์ หรือไม่ โดยตอบคำถามแนวทางการประเมินราคาแกตต์สำหรับผู้นำเข้า ดังต่อไปนี้คือ
ตอบ   1. แหล่งกำเนิดสินค้า?
  1. เป็นความจริงหรือไม่ที่ผู้ส่งออกไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกโดยมีการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า?
  2. การผลิตสินค้าโดยทั่วไปก็ต้องมีส่วนผสมหรือชิ้นส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศเช่นกัน ความตกลงการค้าเสรีกำหนดคำจำกัดความของแหล่งกำเนิดสินค้าไว้ว่าอย่างไร? การรู้คำจำกัดความก็มีส่วนทำให้ผู้ประกอบการพอจะทราบว่าสินค้าที่ผลิตจะได้รับการรับรองหรือไม่
  3. การทราบความหมายของคำว่าผลิตทั้งหมด (Wholly obtained) จะทำให้ทราบว่ามีสินค้าใดบ้างที่ถือว่าเป็นสินค้าที่ผลิตทั้งหมดในไทยอย่างชัดเจน
  4. สำหรับสินค้าที่ไม่ได้ผลิตทั้งหมดในไทยเนื่องจากมีชิ้นส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย จะต้องผ่านเงื่อนไขเฉพาะอะไรบ้าง?
  5. ในประเทศไทย หน่วยงานที่ให้บริการออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ได้แก่
  6. ขั้นตอนในการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (เฉพาะที่ส่งไปออสเตรเลีย)
  7. การรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าในกรณีของการส่งสินค้าไปนิวซีแลนด์แตกต่างกับกรณีการส่งไปออสเตรเลียอย่างไร?
  8. ข้อความที่ต้องใช้ในการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าโดยผู้ส่งออกไทยหรือผู้ผลิตไทย
  9. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขพิจารณาว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยหรือไม่ มีอยู่ 2 อย่าง คือ
ตอบ   1) สินค้านั้นต้องผลิตทั้งหมด (Wholly obtained) ในไทย ซึ่งมีการให้คำจำกัดความไว้
2) หากสินค้านั้นไม่ได้ผลิตทั้งหมดในไทย ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขเฉพาะที่ระบุไว้เป็นรายสินค้า

แจกแนวข้อสอบ ถาม – ตอบ นักวิชาการป่าไม้




การจัดการเพื่อคุ้มครองอนุรักษ์ รักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา

  1. การอนุรักษ์ (conservation) คือ
ตอบ  การจัดการใช้ประโยชน์จากชีวมณฑลอย่างชาญฉลาด โดยมุ่งที่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อคงเหลือให้ชนรุ่นหลังได้พัฒนาใช้ประโยชน์ (IUCN 1980) ในอดีตนั้น  การอนุรักษ์คือการเก็บรักษา (preservation) โดยอยู่ในรูปแบบของการปกป้องให้ถูกแตะต้องโดยน้ำมือมนุษย์ให้น้อยที่สุด เช่น การจัดทำพื้นที่ป่าสงวน  เขตอุทยานแห่งชาติ  หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น ข้อดีของการอนุรักษ์ในรูปแบบนี้ ก็คือ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้น  จะสามารถมีการพัฒนาและวิวัฒนาการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี เช่นมีการปรับตัวให้ทนร้อน ทนหนาว ทนแล้ง ทนต่อน้ำท่วมขัง  เป็นต้น
  1. circa situ conservation คือ
ตอบ   การอนุรักษ์โดยอาศัยหลักการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ  ตัวอย่างเช่น การจัดทำพื้นที่ป่าชุมชน (community forest) หรือการจัดทำพื้นที่เกษตรป่าไม้ (Agroforestry) เป็นต้น
  1. “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” คืออะไร
ตอบ   “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” หรือ Convention on Biological Diversity เรียกย่อ ๆ ว่า CBD เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากความพยายามของสังคมนานาชาติ  ที่จะยับยั้งการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพของโลก  ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์    จุลินทรีย์  ตลอดจนถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ ได้รับการรับรองจากผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศ  ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) หรือที่เรียกกันว่า “Earth Summit” เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน  ปี พ.ศ. 2535 ที่กรุงริโอ  เดอ จาเนโร ประเทศ บราซิล และมีผลบังคับใช้ 90 วันหลังจากมีประเทศภาคีครบ 30 ประเทศ ซึ่งก็คือวันที่ 29 ธันวาคม 2536 เป็นต้นมา
  1. วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่
ตอบ  –  เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เพื่อใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
  • เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ทั้งนี้โดยจัดให้มี
  • การเข้าถึงทรัพยากรอย่างเหมาะสม
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และ
  • การสนับสนุนทุนอย่างเหมาะสม
  1. ไซเตส หมายถึง
ตอบ   อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่า และพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ จัดให้มีกระประชุมนานาชาติขึ้น ที่กรุงวอชิงต้น ดี.ซี. และร่างอนุสัญญาไซเตสขึ้น มีประเทศที่เข้าร่าวมประชุมถึง 88 ประเทศและมีประเทศที่ลง นามรับรองและเห็นด้วยกับอนุสัญญาฉบับตี้ทันทีถึง 21 ประเทศ
  1. เป้าหมายสำคัญของอนุสัญญาไซเตส    คืออะไร
ตอบ   การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์ แห่งมวลมนุษยชาติ โดยเน้นทรัพยกรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือที่มีการคุกคาม ทำให้ประมาณลดลงจน อาจจะสูญพันธุ์ไป วิธีการของการอนุรักษ์ที่ได้กล่าวไว้ในอนุสัญญาไซเตสนั้น ทำโดยสร้างเครือข่ายขึ้นทั่วโลกเพื่อควบคุม การค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไซเตสจะไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ ท้องถิ่น
  1. สัตว์ป่าที่อยู่ในการควบคุมของอนุสัญญาไซเตส จะต้องมีใบอนุญาตดังต่อไปนี้คือ
ตอบ   1.นำเข้า    2. ส่งออก    3.  นำผ่าน     4. ส่งกลับออก

การค้นคว้าวิจัยและพัฒนางานด้านทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ
ในพื้นที่อนุรักษ์
  1. ความหลากหลายทางชีวภาพมีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง คือ
ตอบ   ความหลากหลายในเรื่องชนิด (Species Diversity)
ความหลากหลายของพันธุกรรม (Genetic Diversity)
ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem Diversity)
  1. ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ คือ
ตอบ   สิ่งมีชีวิตใช้เวลานานในการกำเนิดและวิวัฒนาการ  ที่ใดมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายที่นั้นย่อมมีกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่สลับซับซ้อน และมีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตสูง  สิ่งมีชีวิตบางชนิดเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แพร่พันธุ์กว้างไกลไปทั่วโลก  แต่มีมากมายหลายชนิดที่อยู่เฉพาะที่เฉพาะแห่งเท่านั้น  ดังนั้น  มุมต่าง ๆ ของโลกย่อมมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันไป  เช่น  ป่าไม้สักพบเฉพาะในอินเดีย  พม่า  ไทย และลาวเท่านั้น  เราเสียดายหากสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไป  เพราะสิ่งมีชีวิตนั้นไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีกแล้ว หรือไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ และไม่มีโอกาสวิวัฒนาการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอีกต่อไป  ยิ่งในปัจจุบันเราสามารถถ่ายทอดยีนส์จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง  ทำให้สูญเสียแหล่งยีนส์ที่มีลักษณะพิเศษ และมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษยชาติ
  1. เครื่องมือที่สำคัญยิ่งอันหนึ่งในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพคืออะไร
ตอบ    พื้นที่อนุรักษ์   เช่น  อุทยานแห่งชาติ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
พื้นที่อนุรักษ์ยิ่งมีขนาดเล็ก  จะได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของแนวขอบป่า (edge effect) มาก  อิทธิพลแนวขอบป่า (edge effect)  ก็คืออัตราส่วนระหว่างระยะทางของแนวขอบป่ากับเนื้อที่ภายใน  ตามแนวขอบป่าแสงสว่างจะส่องเข้าไปข้างในป่าได้มาก  อากาศใกล้ผิวดินตามแนวขอบป่าก็ผันแปรมาก  เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น  พืชหลายชนิดได้ปรับตัวเองให้เข้าอยู่กับสภาพภายในป่า  ตามขอบป่าอยู่ไม่ได้  การมีขอบป่ามาก ๆ  มลพิษและคนอพยพเข้าไปทำลายได้ง่าย
พื้นที่อนุรักษ์หลายแห่งมีสภาพเป็นเกาะ  อยู่ท่ามกลางป่าที่เสื่อมโทรม หรือท่ามกลางบริเวณที่ปลูกพืชไร่  การแบ่งพื้นที่อนุรักษ์ออกเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อย  เช่น  โดยการตัดถนน หรือโดยอ่างเก็บน้ำที่เป็นแนวยาว  เกิดจากการสร้างเขื่อนจะมีผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในที่สุด  ความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลง  พื้นที่ยิ่งมีขนาดเล็ก  จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่พบจะมีจำนวนชนิดลดตามลงด้วย  กฎง่าย ๆ ตามทฤษฎีชีวภูมิศาสตร์ของเกาะ (Theory of Island Biogeography)  บอกว่า  “ถ้าสูญเสียพื้นที่ไป 90% (มีเหลือเพียง 10%)  ในที่สุดจะทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปครึ่งหนึ่ง”  พื้นที่อนุรักษ์จึงไม่ควรต่ำกว่า 10%  ความจริงโลกเรามีพื้นที่อนุรักษ์เพียง 3.2%  เท่านั้น
  1. การอนุรักษ์พื้นที่เพื่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่
ตอบ   การอนุรักษ์พื้นที่ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและแหล่งพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ในประเทศไทยมีการกันพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่อนุรักษ์ใน 6 ลักษณะโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้คือ
ก) อุทยานแห่งชาติ เป็นพื้นที่ที่รัฐบาลสงวนไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ทางการคุ้มครองรักษาหรือ อนุรักษ์ สภาพธรรมชาติและถิ่นกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายในอุทยานแห่งชาตินั้น ประกอบกันการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และการ พักผ่อน หย่อนใจเช่นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็นต้น
ข) วนอุทยาน เป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีจุดเด่นตามธรรมชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่เช่น น้ำตก ถ้า หน้าผา มีพื้นที่ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วนอุทยานถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ เป็นต้น
ค) สวนพฤกษศาสตร์ เป็นสวนที่สร้างขึ้นสำหรับการรวมพันธุ์ไม้เพื่อจุดประสงค์ทาง การศึกษา อาจจะเป็นการรวบรวมพันธุ์ไม้ในท้องถิ่นหรือ ต่างท้องถิ่นกันก็ได้ โดยมีการจัดแยกหมวดหมู่ของต้นไม้ ในประเทศไทยมีการจัดตั้งสวน พฤกษศาสตร์ 15 แห่ง เช่น สวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลางเขาแค จังหวัดสระบุรี สวนพฤกษศาสตร์พัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นต้น
ง) สวนรุกขชาติ เป็นพื้นที่ที่รวบรวมพันธุ์ไม้เพื่อการพักผ่อนของประชาชน เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่มีการจัด หมวดหมู่มากนักในประเทศไทยมีจำนวน 44 แห่ง เช่น สวนรุกขชาติห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
จ) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพื่อให้สัตว์ป่าได้สืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้มากขึ้นและกระจายออกไปยังแหล่งใกล้เคียงในประเทศไทยเช่นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง
ฉ) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเป็นอาณาบริเวณที่ราชการกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดขนาดไม่กว้าง ขวาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อยเขาประดู่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เป็นต้น
  1. นโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ดังนี้
ตอบ    1. นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และ
ด้านการอุตสาหกรรม
5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
  1. สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย คืออะไร
ตอบ  1.การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า   ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้  เจ้าของโรงเลื่อย  เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้  ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป  ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย  ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร  ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด  ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น  เช่น  ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม  เป็นต้น
  1. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน     เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น  ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้  แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย  นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
  2. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก  เช่น  มันสำปะหลัง  ปอ  เป็นต้น  โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
  3. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่  ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา  ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  4. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ   เช่น  เขื่อน  อ่างเก็บน้ำ  เส้นทางคมนาคม  การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์  ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย  เช่น  การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่  ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
  5. ไฟไหม้ป่า    มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง  ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด  ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ  จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก
  6. การทำเหมืองแร่     แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง  เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้าง    ถนน หนทาง  การระเบิดหน้าดิน  เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ  ส่งผลถึงการทำลายป่า

แจกแนวข้อสอบ ถาม ตอบ กฎหมายแรงงาน




  1. กฎหมายแรงงาน (Labour Law) คือ อะไร
ตอบ      กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง   ที่พึงมีต่อกันอันเกี่ยวเนื่องกับการจ้างแรงงาน   โดยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการคุ้มครองแรงงาน   ให้การจ้างและการประกอบอุตสาหกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสังคม มีระบบมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป   ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎหมายแรงานนั้น   มีบัญญัติไว้ในกฎหมายหลายฉบับ อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๖ ว่าด้วยการจ้างแรงงาน มาตรา ๕๗๕ ถึงมาตรา ๕๘๖,พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ฉบับแก้ไข พ.ศ.๒๕๕๑ ,พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘   เป็นต้น
  1. จงอธิบายขอบเขตของกฎหมายแรงงาน
ตอบ   กฎหมายแรงงานมีขอบเขตและบังคับใช้ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นเข้าทำงานระหว่างการทำงานเป็นลูกจ้าง รวมถึงหลังจากพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
  1. นายจ้าง (Employer)   มีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ     นายจ้าง  (Employer)    คือ
  1. บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้
  2. ผู้ที่รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง
  3. ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
  4. ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ให้มีอำนาจกระทำการแทน
การจ้างเหมาแรงงาน หากมีองค์ประกอบ คือ ผู้ประกอบการได้ว่าจ้างด้วยวิธีการเหมาค่าแรง   การทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ    ให้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นนายจ้างด้วย
  1. ลูกจ้าง   (Employee)  หมายความว่าอย่างไร
ตอบ    ลูกจ้าง   (Employee)     หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร     ลูกจ้างเป็นบุคคลที่ตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง    เพื่อรับค่าจ้าง มีลักษณะเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง ไม่ว่าจะรับค่าจ้างเองหรือให้บุคคลอื่นรับแทน
  1. สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง มีอะไรบ้าง
ตอบ   1.        ทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง
  1. ลูกจ้างต้องทำงานด้วยตนเอง
  2. ต้องทำงานให้ปรากฏฝีมือตามที่ได้แสดงไว้
  3. ต้องไม่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  4. ลูกจ้างต้องไม่ทำผิดร้ายแรง
  5. ไม่กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
  6. สิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง มีอะไรบ้าง
ตอบ   1.        นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
  1. มอบหมายงานให้ลูกจ้างทำ
  2. นายจ้างจะโอนสิทธิการเป็นนายจ้างให้บุคคลอื่น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
  3. กิจการใดที่มีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง นายจ้างคนใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่
  4. นายจ้างต้องออกหนังสือสำคัญแสดงการทำงานให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุด
  5. จัดสวัสดิการให้ตามกฎหมาย
  6. ใครเป็นผู้ประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ
ตอบ    นายจ้าง
  1. เวลาทำงานของลูกจ้างต้องไม่เกินกี่ชั่วโมง
ตอบ   นายจ้างต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง
  1. ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละกี่ชั่วโมง
ตอบ  ไม่เกินวันละเก้าชั่วโมง และเมื่อ รวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง  เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  1. งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินกี่ชั่วโมง
ตอบ   ไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง
  1. ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นเกินกว่าวันละแปดชั่วโมง นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างไร
ตอบ    นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน
  1. ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันได้เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน จะต้องทำอย่างไร
ตอบ   ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง
  1. งานที่กำหนดเวลาทำงานกรณีพิเศษ ได้แก่งานอะไรบ้าง
ตอบ     –  งานขนส่งทางบก
–  งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
–  งานปิโตรเลียม
  1. จงอธิบายความหมายของ “เวลาพัก”
ตอบ    “เวลาพัก หมายความว่า ระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกจ้างพักระหว่างการทำงาน”
“เวลาพัก” จึงน่าจะหมายถึงระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างหยุดพักในระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในวันทำงานปกติ วันหยุด ในหรือนอกเวลาทำงานปกติก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างมีโอกาสพื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและทำงานต่อไปด้วยความปลอดภัย
1)        เวลาพักสำหรับการทำงานทั่วไป
2)        เวลาพักสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ
3)        เวลาพักสำหรับการทำงานของลูกจ้างเด็ก
4)        เวลาพักสำหรับงานขนส่งทางบก
5)        เวลาพักก่อนทำงานล่วงเวลา
  1. งานที่ให้ลูกจ้างทำงานในเวลาพัก ได้แก่
ตอบ   1)        งานที่ทำนั้นมีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป หากหยุดจะเสียหาย
2)        งานฉุกเฉิน